เมื่อย้อนกลับไปตั้งแต่เราเกิดจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะสงสัยกันอยู่บ้างว่า ทำไมในโรงภาพยนต์ต่างๆ ถึงได้เปิด เพลง สรรเสริญพระบารมี ก่อนหนังจะเข้าฉายทุกครั้ง แล้วเพราะเหตุใดเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีดังขึ้น เราจึงต้องยืนขึ้นเพื่อทำความเคารพ ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นคำถามยอดฮิตที่หลายๆ คนน่าจะอยากรู้กันว่า ขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นมีที่มาอย่างไร แล้วเกิดขึ้นในสมัยไหน แน่นอนว่าวันนี้เราได้รวบรวมสาระน่ารู้ดีๆ เกี่ยวกับเพลงสรรเสริญพระบารมี มาให้ทุกคนได้ลองอ่านกัน
ต้นกำเนิดของ เพลง สรรเสริญพระบารมี
ในความจริงแล้วต้นกำเนิดของ เพลง สรรเสริญพระบารมี นั้นมาจากขนมธรรมเนียมของชาวอังกฤษ ซึ่งเขาเชื่อกันว่าการยืนเคารพ เพลง สรรเสริญพระบารมี นั้นเปรียบเหมือนการให้เกียรติแก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งสิ่งนี้ล้วนเป็นอุดมการณ์ที่ถูกปลูกฝังมาอย่างช้านาน โดยเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นมีรากฐานมาจากเพลง God Save The King ที่มักจะเล่นหลังจบการแสดงต่างๆ และสืบทอดมาจนถึงช่วงที่มีการบุกเบิกโรงหนังเข้ามาภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเมื่อหนังจบ เขาจะฉายสารคดีเกี่ยวกับทหารชาวอังกฤษที่อยู่ในดินแดนต่างประเทศ รวมถึงข่าวสำคัญต่างๆ จากนั้นเขาก็จะเปิดเพลง God Save The King ทำให้ในช่วงเวลานั้น การยืนเคารพจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
เพลงสรรเสริญพระบารมี กับค่านิยมที่เสื่อมลงในประเทศอังกฤษ
เมื่อกาลเวลาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ค่านิยมเกี่ยวกับการยืนเพื่อเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีก็เริ่มลดน้อยลง นับตั้งแต่ช่วงที่ราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เริ่มขึ้นครองราชย์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1952-1970 เพราะโดยปกติแล้วคนมักจะรอชมสารคดีหรือข่าวสำคัญต่างๆ กัน แต่เมื่อมีเทคโนโลยีอย่างโทรทัศน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ผู้คนต่างก็ให้ความสำคัญกับสารคดีและเพลงสรรเสริญพระบารมีน้อยลง และในเมื่อค่านิยมเริ่มลดน้อยลง ราชินีเอลิซาเบธที่ 2 จึงเริ่มแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการนำเพลงสรรเสริญพระบารมีย้ายมาเปิดก่อนที่หนังจะเริ่มฉาย แต่แน่นอนว่าวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้กับใช้ไม่ได้ผล เพราะผู้คนไม่ได้มีความสนใจหรือให้ความสำคัญกับเพลงสรรเสริญพระบารมีเหมือนกับสมัยก่อนแล้ว ดังนั้นเพลงสรรเสริญพระบารมีในประเทศอังกฤษจึงไม่มีการนำมาเปิดในโรงภาพยนต์อีกตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นไป
จุดเริ่มต้นของ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในประเทศไทย
สำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมีในประเทศไทยเรานั้นได้ถือกำเนิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งแต่เดิมแล้วเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นเป็นเพลงโคมแตร ที่ได้นำมาประยุกต์ดัดแปลงเอาเพลง God Save The King จากประเทศอังกฤษมาใช้ร่วมด้วย หลังจากนั้นก็ได้ดัดแปลงมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 นั่นเอง
เพลงสรรเสริญพระบารมี ในสมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงสรรเสริญพระบารมีเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและกลายเป็นเพลงชาติที่ชื่อว่า “จอมราชจงเจริญ” เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยแนวคิดของเพลงนี้มาจากเพลง God Save The King ซึ่งเป็นเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศอังกฤษ
เพลงสรรเสริญพระบารมี ในสมัยรัชกาลที่ 5
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ และเมื่อครั้นที่พระองค์ได้เสด็จไปเยือนประเทศสิงคโปร์ ทหารชาวอังกฤษก็ได้เล่นเพลง God Save The King เพื่อบรรเลงเพลงเกียรติยศต้อนรับเสด็จให้แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเพลงที่เล่นนี้ดันไปซ้ำกับเพลงสรรเสริญพระบารมีของอังกฤษ และต่อมาไม่นานพระองค์ก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย และได้พบกับชาวฮอลันดาที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น ซึ่งพวกเขาก็ได้ถามถึงเพลงชาติของชาวสยามว่าเป็นเพลงประมาณไหน เพื่อที่พวกเขาจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ และนี่จึงกลายเป็นตัวจุดฉนวนที่ทำให้พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ให้ครูดนตรีไทยในสยามแต่งเพลงแตรวง เพื่อใช้รับเสด็จแทนการใช้เพลง God Save The King
ในเวลาต่อมาครูดนตรีไทยก็ได้นำเสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นเพลงที่แต่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีแทน และได้นำบทเพลงมาเรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้กลายเป็นเพลงดนตรีแนวชาติตะวันตก ซึ่งเรียบเรียงใหม่โดยนายเฮวุดเซน ครูดนตรีชาวฮอลันดาที่อยู่ประจำกรมทหารมหาดเล็ก หลังจากจึงได้นำเพลงบุหลันลอยเลื่อนมาใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีในปี พ.ศ.2414 เป็นต้นไป
หลังจากนั้นไม่นานในปี พ.ศ.2431 ได้เปลี่ยนรูปแบบเนื้อร้องและทำนองของเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นฉบับใหม่ ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ ชาวรัสเซีย ในเวลาต่อมาจึงได้นำเนื้อร้องออกมาบรรเลงเป็นครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการ และใช้เวลาเพียงไม่ถึงปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีออกมาใช้ และนำมาขับร้องกันในกลุ่มนักเรียนต่างๆ เช่น นักเรียนชาย นักเรียนหญิง ทหาร เป็นต้น
เพลงสรรเสริญพระบารมี ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงปัจจุบัน
เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับการสรรเสริญพระบารมีของเจ้าแห่งแผ่นดินในไทย นอกจากนี้เพลงสรรเสริญพระบารมี ยังเคยนำมาใช้เป็นเพลงชาติไทยในช่วง พ.ศ. 2431-2475 อีกด้วย ซึ่งเป็นทำนองของเพลงนี้ถูกแต่งโดยพระประดิษฐไพเราะ ในปี พ.ศ.2416 และในปี พ.ศ.2431 ได้มีการประพันธ์ทำนองใหม่โดย ปิออตร์ ชูรอฟสกี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย และอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในท่อนสุดท้ายของเพลงสรรเสริญพระบารมี ในฉบับแรกจะใช้คำว่า “ดุจถวายชัยฉะนี้” เป็นท่อนจบ แต่คนส่วนใหญ่มักจะออกเสียงผิดเป็น “ดุจถวายชัยชะนี” ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรำคาญพระราชหฤทัย ไฮโลไทย หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนประโยคสุดท้ายเป็นคำว่า “ดุจถวายชัยชโย” แทน ไฮโลไทยได้เงินจริง ซึ่งทำให้บทเพลงดูไพเราะและเสนาะหูมากกว่าแบบแรก ซึ่งภายหลังจากที่เปลี่ยนรูปแบบการปกครองในปี พ.ศ.2475 เพลงสรรเสริญพระบารมี ก็ไม่ได้มีการนำมาใช้เป็นเพลงชาติเหมือนในอดีตอีกต่อไป แต่ยังนำมาใช้ในการถวายความเคารพแด่พระมหากษัตริย์สืบจนถึงปัจจุบันนี้
บทสรุป
นับตั้งแต่นั้นมา เพลงสรรเสริญพระบารมี ดังกล่าว ก็กลายเป็นบทเพลงที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในภาพยนตร์ โรงดนตรี โรงเรียน ตลอดจนนำมาเผยแพร่ในคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ ที่มักนำมาออกอากาศให้เราได้ฟังกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ Sexybaccarats168.com
อ้างอิง
แทงบอลออนไลน์ ทางเข้า ufabet ภาษาไทย คาสิโนออนไลน์ เซ็กซี่ บาคาร่า บาคาร่า99 บาคาร่าออนไลน์
เว็บบาคาร่าสล็อตpg สล็อตเว็บตรง ไฮโลไทย ufabet168 ufabet เว็บตรง บาคาร่า 888
เว็บที่น่าสนใจ