
หากจะกล่าวถึงเพลงพระราชนิพนธ์คงจะหนี เพลง ยามเย็น ไปไม่ได้เลย เพราะนอกจากเจะเป็นเพลงที่ไพเราะแล้ว ยังมีทำนองและเนื้อหาที่ไพเราะเสนาะหูมากๆ อีกด้วย บทความชิ้นนี้จะพาไปดูประวัติของเพลงนี้กันค่ะ ไปดูกันเลย
เพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น Love at Sundown เป็น เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 โดยทรงพระราชนิพนธ์ ในปี พ.ศ. 2489 ขณะที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นภาษาไทย และให้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ
จากนั้นจึงพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ทั้งสองภาษาให้นายเอื้อ สุนทรสนาน นำไปให้นายบิลลี่หรือนาย คีติ คีตากร นักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นนักดนตรีในวงดนตรีสุนทราภรณ์เรียบเรียงเสียงประสานจนสมบูรณ์ แล้วจึงได้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่บรรเลงออกสู่สายตาประชาชน เพลงยามเย็นเป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ในเพลงนี้ยังมีในส่วนคำร้องภาษาฝรั่งเศส ซึ่งทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ น.ส.เปรมิกา สุจริตกุลถ่ายทอดความหมายจากคำร้องภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส เมื่อปี 2552 โดยใช้ชื่อเพลงว่า Crépuscule d’Amour ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับ เพลง ยามเย็น

เพลง ยามเย็น ได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรคนไทยทันที ต่อมาได้ถูกนำมาประกอบภาพยนตร์เรื่อง พรจากฟ้า ซึ่ง เป็นภาพยนตร์ไทยแนวมิวสิคัล-โรแมนติก-ดราม่า-คอมเมดี้ จัดทำและผลิตโดยจอกว้างฟิล์ม รวมถึงยังได้จำหน่ายโดยจีดีเอช ห้าห้าเก้า ร่วมกับสิงห์ คอร์เปอเรชัน ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ยังได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 3 เพลงคือ ยามเย็น (Love at sundown), ในดวงใจนิรันดร์ (Still on my Mind) และ พรปีใหม่ ผ่านการเล่าเรื่องราวของหนุ่มสาว 3 คู่ที่มีลักษณะในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป
ภาพยนตร์เรื่องพรจากฟ้าเข้าฉายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกผ่านทางช่องวันในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เวลา 20:30 น.-23:00 น
รีวิวเพลง ยามเย็น พร้อมแนะนำ 4 เพลงพระราชนิพนธ์

เพลง ยามเย็น เป็นเพลงที่กล่าวถึงการที่คนรักจากไปไกล มีความคิดถึงและความรู้สึกดีๆ ต่อกันแม้ยามต้องห่างไกล โดยย้ำเตือนให้รับความเป็นจริงและปรับตัวให้ได้กับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปรียบเปรยคนรักเป็นดังดวงอาทิตย์ที่กำลังลับจากฟ้าไป โดยเนื้อร้องทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษเปรียบเปรยและมีความหมายแทบจะเหมือนกัน
เพลง ยามเย็น ทำนองเพลง ยามเย็น มีทำนองสนุกสนานฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายฟังสบายใจ ประกอบกับเนื้อร้องที่จำง่าย ติดหูจนได้เป็นหนึ่งในเพลงประกอบหลักของหนังเรื่อง “พรจากฟ้า” และเป็นหนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคนนำไป Cover มากที่สุดอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีเพลงพระราชนิพนธ์อื่นอีกที่พเราะเสนาะหูในสัมยรัชกาลที่ 9 ที่ทรงบรรเลงเพลงเองในบทความชิ้นนี้มีมาฝากกันค่ะ
สำหรับเพลงแรกเริ่มต้นกันที่เพลงแสงเทียน เพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” (Candlelight Blues) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก เมื่อปี พ.ศ. 2489 ครั้งยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) ได้นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เป็นเพลงในจังหวะบูลส์ แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนองและคอร์ดบางตอน และ ต่อมาได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเพลงนี้จะเน้นไปที่การทำนองที่สบายหูค่ะ
ถัดมาเป็นเพลงสายฝน (Falling Rain) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ ปี พ.ศ. 2489 ขณะยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้นิพนธ์คำร้องภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงแต่งร่วมกับ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา และโปรดเกล้าฯ ให้นำออกบรรเลงเป็นเพลงที่ 2 ต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น” เพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน เป็นเพลงแรกในจังหวะวอลซ์ มีลีลานุ่มนวลอ่อนหวาน จึงเป็นเพลงที่นิยมใช้เป็นเพลงลีลาศในขณะนั้น และเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ยังเป็นเพลงที่ถูกนำมาแสดงในงานครั้งสำคัญอีกด้วย เช่นงานวันพ่อในสมัยรัชกาลที่ 9 เป็นต้น
ต่อมาเป็นเพลงชะตาชีวิต ซึ่งเพลงนี้มีจังหวะทำนองที่ไพเราะมาก สำหรับเพลงพระราชนิพนธ์ “ชะตาชีวิต” (H.M. Blues) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทสวิตเซอร์แลนด์อีกวาระหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ เพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต เป็นเพลงเดียวที่ทรงพระราช นิพนธ์ในแบบบลูส์แท้ๆ โดยไม่มีทำนองอื่นปะปนอยู่ด้วยกันค่ะ นอกจากนี้เพลงชะตาชีวิตยังถูกนำมาสอนในชั้นเรียนในหลายโรงเรียนอีกด้วยนะคะ
เพลงสุดท้ายเป็นเพลงอาทิตย์อับแสง สำหรับเพลงนี้มีเนื้อหาที่กินใจหลายคำเลยค่ะ และเพลงพระราชนิพนธ์ “อาทิตย์อับแสง” (Blue Day) เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2492 ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงนี้ในช่วงเวลาที่ทรงเริ่มรู้จักชอบพอกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอีกด้วยค่ะ เพลงนี้ฟังแล้วรื่นหู แถมยังมีบางช่วงที่ฟังแล้วติดหูจนต้องวนกลับมาฟังซ้ำค่ะ
จบกันไปแล้วนะคะ กับเพลงพระราชินพนธ์ยามเย็นค่ะ เชื่อว่าหลายคนหากได้ฟังต้องติดใยจในบทเพลงพระราชนิพนธ์เหล่านี้แน่นอนค่ะ
อ้างอิงรูปภาพจาก