เพลงกล่อมลูก เปิดประวัติที่มาที่ไปพร้อมแนะนำ 6 เพลงกล่อมเด็ก

เพลงกล่อมลูก เปิดประวัติที่มาที่ไปพร้อมแนะนำ 6 เพลงกล่อมเด็ก

            เพลงกล่อมลูก หรือบทเห่กล่อม มีไว้กล่อมเด็กน้อยให้เข้านอน หรือ บางครั้งก็อาจเป็นการปลอบ  ให้เด็กหยุดร้องไห้ นอกจากนี้บทเพลงกล่อมเด็กจึงมีอยู่ในทุกเชื้อชาติทุกภาษาทั่วโลก ประเทศไทยเราเองก็มีเพลงกล่อมเด็กใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ

การเห่กล่อมและปลอบเด็ก จะเริ่มต้นจากการเปล่งเสียงเอื้อนยาวซ้ำๆ เช่น เอ่ เอ๊  ซึ่งในขณะเดียวกันกับที่ผู้ใหญ่จะใช้มือไกวเปลให้เด็กนอน หรือร้องเพลงกล่อมเด็กเมื่ออุ้มเด็กแนบไว้กับอกและโยกตัวเบาๆ โดยออกเสียงเอื้อนกล่อมไปพร้อมๆ กับการลูบหลัง รวมถึงการตบก้นเด็กเบาๆ ไปด้วย เพื่อให้เด็กฟังเพลินจนหลับไป หรือหยุดร้องไห้ จากการเปล่งเสียงเอื้อนทำนองเหล่านี้

ซึ่งเพลงกล่อมลูก ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในระยะเวลายาวนานมาก เพลงกล่อมลูก ของไทยเป็นเพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นทั่วทุกภาคร้องสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานซึ่งจะต้องอาศัยการฟังและการจดจำ และไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ จึงอาจมีบางเพลงที่เนื้อร้องผิดเพี้ยนแตกต่างไปบ้างแม้จะเป็นเพลงชื่อเดียวกัน จนมาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้รวบรวมเพลงกล่อมเด็กของไทยไว้เป็นหลักฐานครั้งแรก ชื่อว่า นายโมรา หรือ เปโมรา ได้ แต่งหนังสือชื่อ ฉันท์เยาวพจน์ พิมพ์ออกเผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2427 โดยได้นำบทร้องกล่อมเด็ก คำร้องเล่นของเด็กๆ  เช่น

บทกล่อมเด็ก แม่ศรีเอย    แม่ศรีสาหงส์    เชิญเจ้ามาลง  เอาแม่สร้อยทอง เชิญปี่เชิญกลอง    เชิญแม่ทองศรีเอย

และบทขยายของเปโมราแต่งเป็นกลอนสุภาพ

     แม่ศรีสาหงส์มาลงร้อง   ทรงนางสร้อยทองอย่าเชือนเฉย เชิญทั้งปี่กลองของเคย เชิญแม่ทองศรีเอยมาไวไว

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ทรงปรารภว่า ได้รับการสอบถามอยู่เสมอๆ ว่า เมื่อใดจะมีการรวบรวมเพลงสำหรับเด็กเพื่อนำมาตีพิมพ์เหมือนอย่างประเทศอื่นบ้าง จึงได้ทรงมอบหมายให้หลวงธรรมาภิมณฑ์ รวบรวมบทกล่อมเด็ก บทปลอบเด็ก และบทเด็กเล่นของกรุงเทพมหานคร โดยนำมาจากผลงานของเปโมรา ที่จัดพิมพ์ไว้ และค้นคว้ารวบรวมจากที่อื่นๆมาตีพิมพ์ไว้ด้วยกัน

เพลงกล่อมลูก กับพัฒนาการด้านสมอง

                        เพลงกล่อมลูก มีอิทธิผลอย่างมากต่อเด็กทารกที่ได้ยิน ซึ่งได้รับการยืนยันทางการแพทย์แล้วว่าจะส่งผลดีต่ออารมณ์ของลูกน้อย และส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กทารกยามเมื่อได้ยินเสียงเพลงลูกจะได้รับความอบอุ่นทันทีที่ได้ฟังเสียงของแม่ ขณะเดียวกันสมองของลูกน้อยก็จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขที่เรียกว่า เอ็นโดฟิน (Endorphin) ออกมา เพราะเพลงกล่อมเด็กจะมีท่วงทำนองที่ไพเราะและน่ารัก บางครั้งมีเสียงสัตว์และเสียงธรรมชาติประกอบด้วย รวมถึงดนตรีที่เข้าจังหวะจะช่วยปลอบประโลมจิตใจและอารมณ์ของลูกน้อยให้สงบลงได้อย่างง่ายดายทั้งยังเชื่อมโยงสื่อสารการทำงานหูชั้นในของเด็กให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังช่วยกระตุ้นเซลล์สมองและคลื่นสมองให้เป็นระบบระเบียบ และมีการทำงานสื่อสารสอดคล้องที่ทำให้ลูกฉลาดและเรียนรู้รวดเร็ว

แนะนำ 6 เพลง กล่อมลูก ที่ใช้กันในชีวิตประจำวันได้        

บ้านไหนชอบร้อง เพลงกล่อมลูก ให้ลูกทารกได้เพลิดเพลินก่อนนอน รวมถึงต้องการกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการของทารกน้อย มาดูกันดีกว่า ว่ามีเพลงอะไรบ้าง

            สำหรับเพลงแรกคือเพลงวัดเอ๋ยวัดโบสถ์ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้ค่ะ วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพด สาลี ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี โอ้ ข้าวโพดสาลี ป่านฉะนี้จะโรยราเอย

            เพลงที่สอง คือเพลงนกขมิ้น เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอ๋ย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน จะนอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน ลมพระพายชายพัดมาอ่อนๆ เจ้าเคยจรมานอนรังเอย เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอ๋ย ค่ำแล้วจะนอนที่ตรงไหน จะนอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน ลมพระพายชายพัดมาอ่อนๆ เจ้าเคยจรมานอนรังเอย

            เพลงถัดมา เป็นเพลง นกกาเหว่า เจ้านกกาเหว่าเอ๋ย ไข่ให้ไว้แม่กาฟัก แม่กาก็หลงรัก คิดว่าลูกในอุทธรณ์ คาบเอาข้าวมาเผื่อ คาบเอาเหยื่อมาป้อน ถนอมไว้ในรังนอน ซ่อนเหยื่อมาให้กิน ปีกเจ้ายังอ่อน คลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน พาลูกไปหากินที่ปากน้ำพระคงคา ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซร้หาปลากินกุ้ง กินกั้ง กินหอย กระพังแมงดา กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง ปีกเจ้ายังอ่อน คลอแคล ท้อแท้จะสอนบิน พาลูกไปหากินที่ปากน้ำพระคงคา ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซร้หาปลา กินกุ้ง กินกั้ง กินหอย กระพังแมงดา กินแล้วก็โผมา จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง

            ถัดไปเพลงจันทร์เจ้า จันทร์เจ้าเอ๋ย ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า ขอช้างขอม้า ให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง ขอเตียงตั่งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง

            เพลงสุดท้ายเป็นเพลงที่อบอุ่นที่สุด ทั่กเปิดกันในวันแม่ และนำมาร้องกล่อมได้เช่นกันนั่นคือเพลง เพลงอิ่มอุ่นอุ่นใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง รักเจ้าจึงปลูก รักลูกแม่ย่อมห่วงใย ไม่อยากจากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน อิ่มใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียมอิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอนน้ำนมจากอก อาหารของความอาทร แม่พร่ำเตือนพร่ำสอน สอนสั่งให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามีพลังให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป ใช่เพียงอิ่มท้องที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น อุ่นไอรัก อุ่นละมุน ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน

            เป็นอย่างไรกันบ้าง จบไปแล้ว กับเพลงกล่อมเด็ก 6 เพลงแนะนำที่ได้นำมาให้อ่านกันในวันนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปร้องกล่อมลูกได้ นอกเหนือจากความรักและความอบอุ่นจากความรักของพ่อแม่แล้ว เพลงกล่อมเด็กยังให้คุณค่าของเพลงกล่อมเด็กสามารถให้ความรู้และสะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ ในสังคมแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

อ้างอิง

https://www.rakluke.com/child-development-all/baby-development/item/10-7.html

Credit By : Ufabet